วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การดูแลลูกสุนัขช่วงตั้งแต่แรกเกิด

การดูแลลูกสุนัขช่วงตั้งแต่แรกเกิด

 

ก่อนอื่นต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกหมาแรกเกิด ว่าระบบร่างกายของเจ้าตัวน้อยเหมือนและต่างไปจากหมาโตอย่างไร หากแยกแยะความแตกต่างตรงนี้ได้ย่อมสามารถสังเกตดูได้ว่า ลูกหมามีความผิดปรกติใดหรือไม่ในระยะ 36 ชั่วโมงแรกหลังการเกิด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายลูกหมาต้องปรับตัวมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ตับ ไต เป็นการเริ่มต้นวงจรชีวิตที่ต้องทำด้วยตัวมันเองหลังจากพึ่งพาแม่ขณะอยู่ใน ท้องมานานแล้ว




 

 

 

 

ลูกหมาเป็นปรกติดีหรือไม่นั้นต้องหมั่นดูแลอย่างต่อ เนื่องจนมั่นใจว่าลูกหมาตัวนั้นปลอดภัย เบื้องต้นเมื่อเห็นว่ามีลูกหมาค่อยๆ โผล่ออกจากร่างกายของแม่หมาแล้ว ให้จัดการตัดสายสะดือ แล้วเช็ดตัวลูกหมาเพื่อเอาน้ำคร่ำและเศษเลือดออกจนสะอาด จากนั้นเริ่มการสำรวจดูก่อนว่าสัตว์มีสภาพร่างกายที่ปรกติไหม เริ่มจากการตรวจดูจากภายนอกก่อนว่าอวัยวะของสัตว์มีจำนวนครบและมีลักษณะ สมบูรณ์หรือไม่ เช่นว่ามี ตา หู จมูก ปาก ขา เท้า หาง อวัยวะเพศและรูทวาร ครบและสมบูรณ์ไหม แล้วอย่าลืมเปิดปากสังเกตดูเพดานปากของเค้าด้วย เพราะลูกหมาบางตัวอาจมีอาการเพดานปากโหว่

        

นอกจากใส่ใจเรื่องร่างกาย ลูกสัตว์แล้ว พฤติกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจด้วย เช่นว่า ลูกหมาแรกเกิดยังเดินไม่ได้ หูไม่ได้ยิน ตามองไม่เห็น การรับรู้ต้องอาศัยประสาทสัมผัสที่ผิวหนัง รับรู้ความร้อน ความหนาว ความเย็น และความอบอุ่น สัญชาตญาณจะผลักดันให้มันกลิ้งตัวเข้าไปซุกในส่วนที่อบอุ่น เช่นเต้านมของแม่สัตว์ เพราะในขณะนั้นเต้านมแม่หมาจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นและบริเวณช่องท้องส่วน นั้นสามารถกกให้ความอบอุ่นแก่ลูกได้ จากนั้นมันจะเริ่มดูดนมของแม่หมา ถ้าสังเกตแล้วพบว่ามีลูกหมานอนอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนตัวเข้าหาแม่หมา หรือในทางตรงข้ามแม่สัตว์ไม่กกและคาบออกไปให้ไกลตัว ทีนี้เป็นหน้าที่ของท่านล่ะที่ต้องรีบนำลูกสุนัขตัวนั้นมาดูแลเอง ดูว่าเค้ามีปัญหาอะไรหรือไม่ เช่น อุณหภูมิร่างกายต่ำลงตัวเย็นไหม หายใจได้เบาและช้าลงกว่าปรกติไหม ถ้าพบอาการที่ว่าต้องรีบพาไปให้สัตวแพทย์ช่วยเหลือโดยด่วน
 


ควรรู้ ไว้ว่า ลูกหมาแรกเกิดถึงอายุ 6 วัน มีอัตราการหายใจที่ต่ำ เฉลี่ยที่ 12 ครั้งต่อนาที เมื่ออายุได้ 7-35 วัน อัตราการหายใจที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 20-30 ครั้งต่อนาที และเมื่อมากกว่า 35 วันจะอยู่ที่ 15-30 ครั้งต่อนาที ส่วนอุณหภูมิของร่างกายสัตว์แรกเกิดจนถึงอายุ 14 วัน อยู่ที่ 94-99 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่ออายุได้ 15-28 วัน อุณหภูมิร่างกายของลูกหมาจะสูงขึ้นอยู่ที่ 97-100 องศาฟาเรนไฮต์ และเมื่ออายุได้ 35 วันจะมีอุณหภูมิที่ 101.5 องศาฟาเรนไฮต์ สรุปว่าสัปดาห์แรกของการมีชีวิตของลูกหมานั้นร่างกายไม่สามารถรักษาความร้อน ไว้ได้ หมาจะตัวเย็นได้ง่ายมากถ้าไม่มีแม่หมากกให้ความอบอุ่น ลูกหมาบางตัวที่มีความผิดปรกติในเรื่องการกินอาหาร ร่างกายจะเย็นลงด้วยเช่นกันเนื่องจากไม่มีการเผาผลาญพลังงานให้ได้ความร้อน ออกมาตามปรกติ การที่อุณหภูมิลดต่ำลงเป็นเรื่องน่าอันตรายมาก สัตว์จะตายจากภาวะดังกล่าวได้

ดูแลลูกหมาแรกเกิดอย่างไร ถ้าเกิดมาแล้วแม่หมาเลี้ยงดูอย่างดี กกลูกเป็น มีน้ำนมให้ลูกกิน กรณีนี้ไม่มีปัญหา เราดูแลอยู่ห่างๆ ได้ เพียงแต่ต้องชั่งน้ำหนักลูกหมาในวันแรกไว้ด้วย เพราะว่าน้ำหนักตัวจะบอกเราว่าลูกหมามีร่างกายเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นหรือไม่

เมื่อชั่งและจดบันทึกแล้วก็ควรทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยจะได้ไม่สับสนว่าตัวไหนเป็นตัว ไหน ปรกติแล้วเมื่อระยะเวลาผ่านไป 7-8 วันน้ำหนักตัวของลูกหมาจะเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวของน้ำหนักตัวแรกเกิด ถ้าไม่เพิ่มหรือลดลงนี่ล่ะน่าตกใจ เพราะนั่นแสดงว่าหมามีอัตราการเจริญเติบโตที่ผิดปรกติแล้ว ทีนี้ต้องมาวิเคราะห์สาเหตุกันแล้ว

 

ปัญหาของลูกหมาแรกเกิด มีแตกต่างกันไปตามสภาวการณ์ของสัตว์ กรณีที่เกิดจากแม่หมา เช่น ไม่ยอมเลี้ยงลูก หรือไม่มีน้ำนมให้กิน หรือมีพฤติกรรมที่ผิดปรกติเช่นรังเกียจลูกตัวเอง กินลูกตัวเอง หากเป็นกรณีที่กล่าวมาเราต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในช่วงวันแรกๆ ถ้าเกิดจากแม่หมาไม่เลี้ยงลูก ไม่กก ไม่ยอมให้นม เราต้องทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกหมาแทนแล้วครับ การให้นมเป็นสิ่งสำคัญมาก เราต้องหาขวดนมและจุกนมที่มีขนาดพอเหมาะพอเจาะกับปากของลูกสัตว์ เจ้าตัวน้อยก็จะได้ดูดกินอย่างสะดวก หลังจากกินนมอิ่มอย่าลืมเอาสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดอย่างเบามือบริเวณอวัยวะเพศ และรูทวารจะได้ช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่าย เมื่อลูกหมากินอิ่มดี ขับถ่ายปรกติทำให้นอนหลับสบาย

 

กรณีที่เกิดจากลูกหมาเองผิดปกติ เช่น เกิดมามีรูปร่างผิดปรกติ อวัยวะไม่ครบ มีน้ำหนักตัวเบากว่าปรกติ ไม่มีแรงดูดนม หรือมีอุณหภูมิร่างกายที่ต่ำตัวเย็น เหล่านี้ผิดปรกติเช่นกัน ควรรีบพาลูกหมาไปให้คุณหมอช่วยเหลือโดยด่วน

กรณีที่เกิดจากสิ่งแวด ล้อม ส่งผลเสียต่อตัวลูกหมาได้ เช่น อากาศโดยรอบหนาวเย็น หรือช่วงนี้ที่ฝนตกและมีความชื้นสูง อากาศเย็นนั้นจะส่งผลต่อลูกสัตว์ได้โดยตรง เพราะตัวเค้าจะเย็นตามบรรยากาศโดยรอบได้เนื่องจากลูกหมายังไม่สามารถรักษา อุณหภูมิร่างกายไว้ได้ ดังนั้น การทำรังออกลูกของแม่หมาจึงสำคัญ


สถาน ที่ที่เหมาะสมคือ ที่อบอุ่น ลมไม่โกรก และปราศจากสิ่งรบกวนความสงบ ความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญอีกข้อหนึ่งเนื่องจากลูกหมาแรกเกิดมักมีน้ำคร่ำ เลือด เปื้อนเนื้อเปื้อนตัว ถ้าเราไม่เช็ดทำความสะอาดแล้วความเลอะเทอะนั่นล่ะครับจะเป็นตัวเพาะเชื้อ โรคอย่างดี ทำให้ลูกหมาเกิดปัญหาป่วยเป็นโรคได้ เช่น โรคผิวหนังอักเสบเป็นตุ่มหนอง หรือตัวแม่หมาอาจเป็นโรคเต้านมอักเสบ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็ส่งผลต่อตัวลูกสัตว์เพราะทำให้ท้องเสียและอาจตาย ได้ง่ายๆ กล่าวโดยรวม คอกของแม่หมาต้องสะอาด แห้ง และไม่มีมูลของเค้าถ่ายเรี่ยราด วัสดุที่บุรองพื้นต้องหมั่นเปลี่ยนหรือทำความสะอาดอยู่เสมอ ป้องกันไว้ก่อนดีกว่า

หากลูกหมาเกิดมาสกปรกและเลอะเทอะมาก เจ้าของพยายามเช็ดด้วยผ้าขนหนูแล้วก็ยังไม่ออก เราสามารถใช้น้ำอุ่นพรมพร้อมกับเช็ดตัวเพื่อชะเอาสิ่งสกปรกออกได้ เพราะน้ำอุ่นจะไม่ทำให้เกิดปัญหาลูกหมาป่วยเป็นไข้ หรือมีการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายไป และที่สำคัญจับแม่หมาล้างตัวทำความสะอาดด้วยครับ เพราะหากแม่หมาเนื้อตัวสกปรกนี่ล่ะจะเป็นสาเหตุสำคัญที่นำโรคภัยไข้เจ็บมา สู่เจ้าตัวน้อยแสนน่ารัก

  

เมื่อลูกสุนัขคลอดออกมาแล้ว อย่าลืมแยกของเขาออกจากแม่ และแยกออกจากกัน ใส่ตะกร้า ทำช่องกั้นไว้นะ
ให้ จับแยกไปไว้ในที่แห้ง สะอาด ไม่ถูกลมเป่า และควรมีหลอดไฟ 100 แรงเทียนส่องเพื่อให้ความอบอุ่นด้วย (ควรตั้งหลอดไฟห่างประมาณ 30 ซม. และไม่ควรให้แสงส่องโดนดวงตาตรงๆ ควรมีการพรางแสงบ้าง ไม่งั้นเดี๋ยวตาบอดได้) จับให้มาเจอกันตอนให้นมก็พอ

การที่ปล่อยให้แม่เข้ามาเลี้ยงลูกเอง ย่อมมีอันตรายอยู่บ้าง
เช่น เหยียบลูก คาบลูกไป-มาบ่อยๆ เป็นต้น

ยืนยันว่า ควรต้องแยกให้พ้นโดยเด็ดขาด ในเวลาที่ลูกๆ นอน
เอามาให้เจอกันเฉพาะบางเวลาที่ตื่น เช่น กินนม ตอนขับถ่าย (เพราะแม่จะช่วยเลีย ทำความสะอาดให้)

ถ้าแม่สุนัขไม่มีนมให้ลูก ก็ไม่เป็นไร
ใช้นมผงยี่ห้อ esbilac ชงให้แทนได้ รับรองทานแล้วแข็งแรง (ที่บ้านใช้มาแล้ว ทั้ง 4 ตัวแข็งแรงเป็นกระบือเลย) ให้ทุกๆ 4-6 ชม. ก็ได้

เรื่องปริมาณนมในช่วงเดือนแรกๆ น่าจะไม่เกินครั้งละ 10-20 cc.
ห่างกันครั้งละ 4 ชม. ปริมาณนม จะสังเกตได้ว่า ตัวเล็กท้องป่องแล้วหรือยัง ถ้าท้องป่อง แบบคนลงพุง ก็แสดงว่าอิ่ม พอได้แล้ว

ส่วนอายุเท่าไหร่เริ่มเลียนมได้ ก็คงประมาณเดือนถึงเดือนเศษๆ หลังจากนั้น ก็เริ่มบดอาหารเม็ดปนใส่นมให้เลีย
แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดหลังจาก 2 เดือนไปแล้ว (ถ้าเขาเริ่มกินเองได้แล้ว)

ให้อบไฟด้วยค่ะ สำคัญมากค่ะ ยิ่งตอนนี้อากาศเริ่มเย็นๆแล้วด้วยใช้ไฟไม่เกิน 60W อบตลอดเวลาเลยนะคะ อบแม่เค้าไปด้วยก็ดี

       

          

 

 

10 ความคิดเห็น:

  1. ลูกหมามีอายุ7วันค่ะ ลูกหมาชอบร้องตอนกลางวัน เวลา11.00-17.00ที่บ้านค่อนข้างร้อน เกี่ยวไหม ที่ลูกหมาร้อง

    ตอบลบ
  2. ตอนนี้ลูกหมาอายุ4วันค่ะ จำนวนลูกหมาในคอกเดียวกันมี11ตัว เวลาที่แม่หมาเข้าไปให้นมลูกมักจะเหยียบบ่อยครั้งรวมถึงการที่ลูกหมามีจำนวนมากทำให้นมไม่พอค่ะ จนตอนนี้มีลูกหมาตัวนึงไม่สามารถดูดนมไหวทำให้ไม่มีสารอาหารหล่อเลี้ยงค่ะ ต้องทำยังไงดีค่ะ ตอนนี้พยายามป้อนนมเพื่อให้มีแรงค่ะแต่ไม่ทราบว่าทำถูกต้องรึเปล่า ช่วยกันตอบด้วยนะค่ะ สงสารลูกหมาค่ะ

    ตอบลบ
  3. ลูกหมา16วันแล้วยังไม่ลืมตาเลยค่ะเป็นอะไรไหมค่ะ พันธ์ชิสุค้ะ

    ตอบลบ
  4. ทำไมลูกสุนัขสองวันมีตัวหนึ่งร้องไม่หยุดเลยทำไงได้ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เอามีดค่อยๆปาดที่ลำคอครับหายร้องเลยรับรองได้ผลชัว

      ลบ
    2. เอามีดค่อยๆปาดที่ลำคอครับหายร้องเลยรับรองได้ผลชัว

      ลบ
    3. ใจหมาจีงน่ะมึง
      ปาดคอมึงดีหว่ามึงไอสัต

      ลบ
  5. หูกระจงควรปลูกให้ห่างจากตัวบ้าน

    ตอบลบ
  6. แล้วถ้าเราเลี้ยงเอง เพราะแม่เค้าโดนฉีดยาคุมตอนท้องเลยผ่าออกให้นมไม่ได้บางตัวมีอาการพิการด้วยค่ะเค้าจะรอดไหมคะ

    ตอบลบ
  7. เราเลี้ยงคนเดียวป้อนนมแบบวน
    เพราะมี7ตัว ป้อนตัวสุดท้ายแล้วก้อวนกลับมาป้อสตัวแรกทันทีใช้เวลา2.20/รอบจู่ๆตัวนึงก้อเริ่มแห้งๆไม่ดูดนมแล้วตายเพราะอะไรคะ(เวลาแค่2ช.มแห้งแบบแห้งแกลกเลยเพราะอะไรคะ)ให้นมน้อยไปรึเปล่าคะให้3.5cc/ครั้ง

    ตอบลบ